โลโก้เว็บไซต์ พิธีมอบรางวัลการประชุมวิชาการวิจัย CRCI ครั้งที่ 3 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พิธีมอบรางวัลการประชุมวิชาการวิจัย CRCI ครั้งที่ 3

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 20 กันยายน 2559 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 2328 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา  ร่วมจัดการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 3 “...สู่วิจัยรับใช้สังคม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและนวัตกรรมท้องถิ่น จุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้างานวิจัยผ่านกระบวนการศึกษา ทดลอง จนกลายเป็นผลงานวิจัยและนำไปต่อยอด ถ่ายทอดลงสู่การรับใช้สังคม สร้างงานนวัตกรรม การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษา เผยแพร่ผลงานงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์ สู่สาธารณะ  โดยได้รับเกียรติจากนายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน โดยมีนักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาและสถานประกอบภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2559 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มทร.ล้านนา (เชียงใหม่)

ภายในงานมีการนำเสนอผลงานในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) 60 บทความ รูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) 97 บทความและนิทรรศการแสดงผลงานและการประกวดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์ เสวนาหัวข้อ “แนวทางการพัฒนานักวิจัยฝ่ายวิชาการและฝ่ายอุตสาหกรรมท้องถิ่น” โดยศาสตราจารย์ ดร.ผดุงศักดิ์  รัตนเดโช นักวิจัยดีเด่นประจำปี 2554  รองศาสตราจารย์.ดร.ประเสริฐ  ภวสันต์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร  ลีปรีชานนท์ หัวหน้าภาควิชาไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการประกวดมีดังนี้

บทความวิจัย ภาคโปสเตอร์ Poster Presentation

รางวัลเหรียญทอง ดร.วาณิช  หลิมวานิช   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

บทความ “แบบจำลองอันดับเอ็นสำหรับการทำนายประสิทธิภาพของซิงค์ (II) คลอไรด์ในการสังเคราะห์ พอลิ (เอปไซลอน-คาโพร์แลกโทน)

ด้านวิทยาศาสตร์กายภาและสุขภาพ

รางวัลเหรียญเงิน นางสาวกรรณิการ์  ใจมา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

บทความ “ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกการแปรรูปเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกาแฟ ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน”

ด้านบริหหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์

รางวัลเหรียญทองแดง ดร.พัชทิชา  กุลสุวรรณ์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทความ “การจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์กับทรัพยากรน้ำและเศรษฐศาสตร์กับทรัพยากรที่ดิน สำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ด้านผลกระทบต่อชุมชน สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม

 

บทความภาคบรรยาย Oral Presentation

รางวัลเหรียญทอง ดร.ภาคภูมิ  ภัควิภาส  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

บทความ  “พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากภูมิปัญญาชนเผ่าปกาเกอะญอ จังหวัดเชียงใหม่

รางวัลเหรียญเงิน นางสาวรัตติยากร  ถิ่นแสง และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

บทความ “ระบบวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและผลตอบแทนการลงทุนในการเลี้ยงปลา กรณีศึกษา การเลี้ยงปลาหมอมานพฟาร์ม อ.แม่ลาว จังหวัดเชียงราย

รางวัลเหรีญทองแดง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภัทรา  ปานสุวรรณจิตร์ และคณะ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

บทความ “พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ เพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”

รางวัลบทความดีเด่น (The Best Paper) นางสาลินี  ชัยวัฒนพร และคณะ มหาวิทยาลัยชินวัตร

บทความ “แนวทางการจัดการข้ามวัฒนธรรมทางธุรกิจ ต่อสถานภาพผู้ประกอบการไทยในวัฒนธรรมลาว : หลวงน้ำทา”

โล่รางวัลพิเศษ พระวิสิทธิ์  ตวิสิทโธ.ดร(วงค์ใส) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

บทความ “การสร้างคู่มือการสอนศีลธรรมจากพระไตรปิฎก”

 

การประกวดผลงาน สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมผลงานสร้างสรรค์

รางวัลเหรียญทอง ดร.ดวงพร  อมรเลิศพิศาล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทความ “แทมมารีนไฮเดรติ้งเอสเซนส์”

รางวัลเหรียญเงิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร  พัชรประกิติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

บทความ “เครื่องผลิตน้ำดื่มจากอากาศด้วยวิธีควบแน่นจากคอมเพรสเซอร์กระแสตรงพลังงานแสงอาทิตย์

รางวัลเหรียญทองแดง นายกิตตินัน  สระสวย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

บทความ “พัฒนาเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า”

โล่รางวัลพิเศษ (Special Award) นายชวลิต  ขอดศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

บทความ “Pinkish Model การพัฒนามหาวิทยาลัยสงฆ์สู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้”

โดยสามารถดูรายละเอียดผลการประกวดรางวัลและติดตามความเคลื่อนไหวของการประชุมวิชาการวิจัยได้ที่ http://www.w3conference.org/index?annual=2016

 






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา