โลโก้เว็บไซต์ การใช้โปรแกรม Adobe ให้เหมาะกับงานต่างๆ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

การใช้โปรแกรม Adobe ให้เหมาะกับงานต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 17 กันยายน 2562 โดย ธนพล มูลประการ จำนวนผู้เข้าชม 25112 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

Adobe Bridge : เป็นโปรแกรมจัดการไฟล์ทุกประเภทของทาง Adobe เราสามารถจัดการไฟล์ ค้นหา จัดระเบียบ หรือแม้กระทั้งทำการ Batch ไฟล์ก็ได้เช่นกัน เรายังสามารถเรียก Preview ไฟล์ เพื่อดูไฟล์แบบ Fullscreen รวมไปถึงจัดการไฟล์ของ Adobe ได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น Photoshop PSD, Camera RAW, Illustrator AI, InDesign INDD, Acrobat PDF, Flash SWF/FLV และไฟล์สกุลอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อโปรแกรมมาเพื่อเปิดไฟล์
Adobe InDesign : เป็นโปรแกรมสร้างงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะเป็นโปรแกรมที่ให้ความละเอียดสูง เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดทำหนังสือ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ต่างๆ
Adobe InCopy : เป็นโปรแกรมประเภท เวิร์ดโปรเซสซิ่ง ที่ใช้ร่วมกันกับ Adobe InDesign ใช้เขียน แก้ไข ออกแบบ ข้อความสำหรับสิ่งพิมพ์ โดยมีความสามารถเพิ่มเติมเช่น การตรวจสอบคำผิด นับคำ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถดูข้อความคร่าวๆได้ว่าพอดีกันกับเลย์เอาท์ที่ออกแบบไว้หรือไม่ด้วย
Adobe PageMaker : เป็นโปรแกรมสำหรับการจัดหน้าหนังสือโดยเฉพาะ แต่เนื่องจากปัจจุบัน Adobe ได้ผลิตโปรแกรมสำหรับจัดหน้าและสามารถทำภาพการฟิกได้ในโปรแกรมเดียว คือ Indesign แล้ว Adobe Pagemaker จึงเป็นตัวเลือกที่ 2 สำหรับการจัดหน้าหนังสือในปัจจุบัน
Adobe Photoshop Extended: เป็นโปรแกรมสร้างและแก้ไขรูปภาพอย่างมืออาชีพโดยเฉพาะนักออกแบบในวงการย่อมรู้จักโปรแกรมตัวนี้เป็นอย่างดี หน้าที่หลัก คือ การสร้างงานประเภทสิ่งพิมพ์ งานวีดิทัศน์ งานนำเสนอ งานมัลติมีเดีย ตลอดจนงานออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ใน CS4 นี้จะมีการประมวลผลที่เร็ว เหมาะสำหรับงานออกแบบที่เร็วทันใจ
ข้อเด่นของ Adobe Photoshop Extended นี้ คือ การทำงานแบบ 3D ได้ และยังตกแต่งภาพ ในไฟล์ Movie ได้อีกด้วย
Adobe Photoshop : หน้าที่การทำงานจะเหมือนกับ Photoshop Extended แต่เพียวตัวนี้จะมีความสามารถที่น้อยกว่า Photoshop Extended เช่นงาน 3D ที่ตัวนี้ไม่สามารถทำได้
Adobe Lightroom : เป็นโปรแกรมแต่งภาพถ่ายให้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น การลบ Noise ออกจากรูปถ่าย
Adobe Illustrator : เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นหรือเวกเตอร์ และยังสามารถรวมภาพกราฟิกที่แตกต่างกันระหว่างเวกเตอร์และและเป็นบิตแม็ฟ ให้เป็นงานกราฟิกที่มีทั้งภาพเป็นเส้นที่คมชัด และมีเอฟเฟ็กต์สีสันสวยงาม หรือมีความแปลกใหม่ร่วมกันได้ นักออกแบบส่วนใหญ่นิยมใช้โปรแกรม Illustrator เพราะมีคุณภาพของงานสูง เพราะเนื่องจาก เป็นไฟล์แบบ เวกเตอร์ ที่มีความคมชัดของไฟล์งานสูง และไม่มีปัญหาเวลาส่งงานให้กับโรงพิมพ์อย่างแน่นอน
Adobe Freehand : เป็นโปรแกรมที่คล้ายกับ Illustrator คือการทำงานด้านกราฟิกเหมือนกัน เป็นแบบ เวกเตอร์
Adobe Acrobat : โปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างเอกสารอิเล็คทรอนิกส์ในรูปแบบ Portable Document Format (PDF )เป็นเทคโนโลยีในการจัดเก็บเอกสาร ในรูปแบบเดียวกับต้นฉบับ
Adobe Reader : เป็นโปรแกรมที่สามารถอ่านไฟล์ที่เป็น PDF ได้เหมือน Acrobat แต่ว่า Reader จะสามารถอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขงานได้
Adobe Distiller : หน้าที่การทำงานจะเหมือนกับ Acrobat คือการแปลงไฟล์ Distiller จะเป็นตัวแปลงไฟล์ให้เป็น (EPS)
Adobe Flash : เป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างอนิเมชั่นบนเว็บระดับมืออาชีพ นอกจากสร้างเว็บ ยังสร้างเกม รวมไปถึงภาพเคลื่อนไหวบนหน้าเว็บไซต์ที่เราเห็นอยู่เป็นประจำ มี Effect ของภาพให้เลือกมากมาย
Adobe Dreamweaver : เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์พื้นฐาน โดยที่เราอาจจะไม่ต้องมีความรู้เรื่องทางการเขียนโปรแกรมก่อนเลยก็ได้ เพราะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างสิ่งต่างๆ บนเว็บไซต์ได้อย่างดีอย่างมืออาชีพเลยทีเดียว
Adobe Authorware : โปรแกรม Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอลักษณะ Multimedia มีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง โปรแกรม Authorware ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Interfack ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์ (Icon) แทนคำสั่ง ทำให้ง่ายและสะดวกในการใช้งาน
Adobe Firework : เป็นโปรแกรมที่สามารถตกแต่งภาพ กำหนดเอ็ฟเฟ็กซ์ตัวหนังสือและรูปภาพ อีกทั้งสามารถสร้างปุ่มคลิกสำหรับนำไปใช้ในเว็บเพจได้ค่อนข้างที่จะง่าย ยิ่งใช้งานกับ Dreamweaver ยิ่งได้งานที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติเด่น Adobe Firework นี้ สามารถใช้งานร่วมการฟิกแบบ Vector อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างปุ่มคลิกได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการเขียนคำสั่งอีกด้วย
Adobe Coldfusion : เป็นโปรแกรมที่ช่วยจัดการกับไฟล์ลิงค์ต่างๆ บนหน้าเว็บให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้นหรืออีกอย่างคือการทำหน้าเหมือนกับ Dreamweaver แต่มีความสามารถน้อยกว่า โปรแกรมตัวนี้สามารถใช้กับ firework จะได้งานที่มีประสิทธิภาพเหมือนกัน
Adobe Contribute : เป็นโปรแกรมประเภทสำหรับการสร้าง หรือปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบนเว็บไซต์ หรือ เว็บบล็อก แต่ไม่เหมาะกับการสร้างเว็บ เหมือน Dreamweaver เหมาะสำหรับแก้ไข หัวข้อ หรือ รายละเอียดที่เป็นเนื้อความมากกว่า โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิคหรือนักพัฒนาเว็บไซต์มืออาชีพแค่เพียงใช้งานแบบ Microsoftword เป็น
ข้อเด่น Adobe Contribute คือ ความรวดเร็วในการแก้ไข ข้อความหรือเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้อย่างง่าย
Adobe After Effects : คือโปรแกรมที่ไว้สำหรับทำพวกงาน motion graphic ครับ คือการทำงานจะเป็นการที่นำไฟล์จาก AI หรือ Photoshop หรือแม้กระทั่งไฟล์ movie ก็ได้ เป็นโปรแกรมที่ไว้สร้างงานนำเสนอ แต่ไม่ได้สร้างงานกราฟิกด้วยตัวเอง
Adobe Premiere : คือโปรแกรมในการตัดต่อวิดีโอ และไฟล์เสียง ใช้สร้างภาพยนตร์ได้ โดยเป็นหนึ่งในโปรแกรมตระกูล Adobe ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนี่อง และความนิยมอย่างสูง มีความสามารถหลัก คือ การตัดต่อไฟล์วิดีโอ ซึ่งผสมผสานไฟล์วิดีโอหลายๆ ไฟล์ให้เรียงต่อกันแล้วนำมาผ่านกระบวนการตัดต่อใส่เอ็ฟเฟ็ค ใส่ subtitle ใส่ตัวหนังสือ ปรับเสียง และยังสามารถสร้างชื่อเรื่อง ข้อความ จนกระทั่งได้ไฟล์ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์รวมทั้งมีกาพเคลื่อนไหวและมีการเปลี่ยนฉากที่ลงตัว จากนั้นยังสามารถแปลงไฟล์ที่เสร็จแล้วไปเป็นไฟล์ในรูปแบบต่างๆ ได้
Adobe Premiere Elements 7 : เป็นโปรแกรมกึ่งสำเร็จรูปในการสร้างไฟล์วิดีโอเพื่อในการใช้งานง่ายมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความรวดเร็วในการสร้างไฟล์วิดีโอ ซึ่งตัวนี้จะเพิ่มการสนับสนุนไฟล์วิดีโอรูปแบบ AVCHD ซึ่งเป็นไฟล์วิดีโอที่มีความละเอียดในการแสดงภาพสูง
Adobe Director : เป็นโปรแกรมสำหรับการสร้างงานแบบ มัลติมีเดีย/อินเทอร์แอคทีฟ
Adobe Audition : เป็นโปรแกมที่มีความสามารถในการแก้ไขไฟล์เสียง สามารถบันทึก แก้ไข แปลงไฟล์เสียงได้ตัดไฟล์เสียงโดยเฉพาะ สามารถรองรับไฟล์งานเสียงได้ทุกรูปแบบ
Adobe Soundbooth : เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยมืออาชีพในการผลิตงานออดิโอคุณภาพสูง บันทึก, แก้ไข และปรับแต่งออดิโอและเพลงได้อย่างรวดเร็วสำหรับการใช้งานบนเว็บ รวมถึงการผลิตวิดีโอ ช่วยให้จัดการกับซาวด์แทร็กได้อย่างรวดเร็วและประสิทธิภาพสูง และเชื่อถือได้
Adobe Soundbooth จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาทำตลาดแทน Adobe Audition ใน Adobe Production Studio เวอร์ชันใหม่ อย่างไรก็ตาม Adobe Audition จะยังคงมีวางจำหน่ายในท้องตลาด แบบสแตนด์อะโลน สำหรับงานออดิโอมืออาชีพ และจะมีเพียงเวอร์ชันที่ซัพพอร์ต Windows เท่านั้น
Adobe Encore : สำหรับการเพิ่มลูกเล่นในวิดีโอหรือไฟล์ดีวีดี เช่น การสร้างหน้าเมนูของดีวีดีและแปลงไฟล์ต่างๆ ที่เป็นไฟล์งานเกี่ยวกับงานวิดีโอ
Adobe OnLocation : ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงดิสก์โดยตรง หรือทำหน้าที่เหมือน โปรแกรม Nero และทำหน้าที่เป็นจอมอนิเตอร์ในการเปิดไฟล์งานของ ADOBE Premiere อีกด้วย
Adobe Captivate : โปรแกรม Adobe Captivate เป็น โปรแกรมสร้างสื่อนำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดียอีกโปรแกรมหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในขณะนี้ เนื่องจากโปรแกรม Adobe Captivate สามารถสร้างสื่อการ เรียนการสอนหรือสื่อนำเสนอแบบมัลติมีเดียได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว และถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการสร้าง Movie ในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลด้วยสื่อมัลติมีเดีย เช่น การนำเสนอผลงาน การจับหน้าจอภาพ (Screen capture movie) ประกอบเสียงบรรยาย การสร้างแบบทดสอบ การตัดต่อวิดีโอ และสามารถนำเข้าไฟล์จากแหล่งต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น ไฟล์รูปภาพ (Image) เช่น JPG, BMP, GIF ไฟล์เสียง (Sound) เช่น MP3, WAV เสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน ไฟล์วิดีโอ (Video) เช่น AVI และสไลด์จากโปรแกรม Microsoft Power Point (.ppt) นอกจากนี้โปรแกรม Adobe Captivate ยังสามารถนำเสนอไฟล์ในรูปแบบต่างๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น Flash movie File (.swf) ลักษณะเช่นเดียวกับโปรแกรม Adobe Flash , HTML File (.html) สำหรับการนำไปใช้กับเว็บไซต์ และ EXE File (.exe) สำหรับการนำไปใช้แบบ Stand alone คือ การแสดงผลโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Adobe Captivate
Adobe FrameMaker : เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่คล้ายกัย Captivate เพราะเป็นโปรแกรมที่ทำสื่อการเรียนการสอนโดยรวม หน้าที่หลักคือ การทำสื่อนำเสนอ ซึ่งปัจจุบัน Adobe กำลังจะเลิกพัฒนาโปรแกมตัวนี้แล้ว เพราะลูกค้าสามารถเลือกซื้อโปรแกรมตัวอื่นของ Adobe ได้ ที่มีสามารถที่มากกว่าตัวนี้
Adobe RoboHelp : เป็นโปรแกรมที่ทำเอกสารหรือคู่มือ ที่มีความสะดวกรวดเร็ว

อ้างอิงจาก : https://pantip.com/topic/34318142
สมาชิกหมายเลข 3581634
2 กรกฎาคม 2561 เวลา 18:31 น.






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา