โลโก้เว็บไซต์ ทีมงาน Nile Creek Rescue ส่งผลงาน “เครื่องเติมอากาศสัญชาติไทย ที่เข้าใจปลานิล” คว้าชนะเลิศ U2T National Hackathon 2021 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ทีมงาน Nile Creek Rescue ส่งผลงาน “เครื่องเติมอากาศสัญชาติไทย ที่เข้าใจปลานิล” คว้าชนะเลิศ U2T National Hackathon 2021

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 19 พฤศจิกายน 2564 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 915 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ขอแสดงความยินดีกับ ทีมงาน Nile Creek Rescue  U2T ต.สันกลาง  อ.พาน จ.เชียงราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดย ดร.ชไมพร  รัตนเจริญชัยและ ผศ.ดร.รัตนาพร  นรรัตน์ ผู้ควบคุม คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน “U2T National Hackathon 2021” โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ รับเงินรางวัล 100,000 บาท จาก ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2564 ณ เวทีกลาง อาคาร Exhibition Hall 12 อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) 

สำหรับโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงาน แก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงที่ยั่งยืน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของผู้เข้าร่วมโครงการให้สามารถเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศ  ซึ่งการแข่งขันการระดมสมองประลองไอเดียเพื่อแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ตำบลจาก 965 ทีมทั่วประเทศโดยทีม Nile Creek Rescue (U2T ต.สันกลาง อ.พาน จ.เชียงราย มทร.ล้านนา) ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของเกษตกรผู้เลี้ยงปลานิล ในตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และได้นำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการศึกษาวิจัยภายในมหาวิทยาลัยฯ นำสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และพัฒนานวัตกรรมที่มีอยู่ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเกษตกร โดยเน้นการนำนวัตกรรมมาพัฒนาให้มีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าเดิม เนื่องจากนวัตกรรมดังกล่าวมีการใช้ในต่างประเทศ หากมีการสั่งเครื่องนำเข้ามาต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ทางทีมงานจึงพัฒนาระบบเติมอากาศเพื่อแก้ปัญหาปลาน็อคน้ำ “เครื่องเติมอากาศสัญชาติไทย ที่เข้าใจปลานิล” โดยเป็นเครื่องที่มีคุณสมบัติที่เทียบเท่าและวัสดุสามารถหาได้ในท้องถิ่น จึงได้เครื่องมือที่ชื่อว่า “Happy Nile” โดยยึดหลักการ F4 ประกอบด้วย Fast = การเติมออกซิเจนได้รวดเร็ว   Fine = การทำให้ปลามีความสุข Fit = ราคาสบายกระเป๋า และ Friendly = ใช้ง่าย  ระบบเติมฟองอากาศที่สามารถทำงานในความลึกระยะ 1 เมตร และฟองอากาศกระจายได้ไกลถึง 5 เมตร โดยมหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นให้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้า ลงมือวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จะสามารถช่วยเหลือเกษตกรในกลุ่มผู้เลี้ยงปลาได้ทั่วประเทศ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา