โลโก้เว็บไซต์ คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมการทำยาหม่องสมุนไพรและพิมเสนน้ำแก่เกษตรกรผู้ปลูกดีปลี นำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง จัดอบรมการทำยาหม่องสมุนไพรและพิมเสนน้ำแก่เกษตรกรผู้ปลูกดีปลี นำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 15 มิถุนายน 2559 โดย นริศรา สกุลสอน จำนวนผู้เข้าชม 1096 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา ลำปาง จัดโครงการอบรมบริการให้คำปรึกษาฯ ให้ความรู้เรื่องการทำยาหม่องสมุนไพร และพิมเสนน้ำแก่เกษตรกรผู้ปลูกดีปลี ณ ศาลาหมู่บ้านบ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2559 โดยมีอาจารย์พรหมมินทร์ สายนาคำ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง และอาจารย์ณัฐอมร  จวงเจิม อาจารย์สาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร เป็นวิทยากรในการจัดอบรม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ลดรายจ่ายในครัวเรือน อาจารย์พรหมมินทร์  สายนาคำ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง กล่าวว่า คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง ดำเนินโครงการภายใต้งบประมาณของคลินิกเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีภาระกิจ 4 ด้าน คือ การให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องจักร พัฒนาคุณภาพสินค้าโอทอป SMEs บริการข้อมูลเทคโนโลยีและสืบค้นข้อมูลความต้องการ ด้านที่สองเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านองค์ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างสังคม้านวิทยาศาสตร์กับทุกระดับ  ด้านที่สามถ่ายทอดเทคโนโลยี สาธิต ฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มเป้าหมายตามความต้องการของประชาชนหรือชุมชน ด้านที่สี่คือการวิจัยและพัฒนาต่อยอด พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยี ผ่านการถ่ายทอดและให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับกกลุ่มมผู้ใช้  สภาพท้องถิ่นและวัตถุดิบ โดยการทำยาหม่องดีปลีนับเป็นการนำภูมิปัญญาของไทยเรื่องยาหม่องกับภูมิปัญญาเรื่องสมุนไพรมาผสมผสานทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อสุขภาพ ด้วยสรรพคุณของดีปลีที่มีรสร้อน มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ปวดกระดูก ปวดข้อ ดังนั้นการนำมาใช้ในรูปสารสกัดโดยการสกัดด้วยเอททิลแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็น จะได้สารสกัดนำมาเป็นส่วนผสมในสูตรยาหม่องสมุนไพร เพื่อใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย ช้ำบวม แมลงสัตว์กัดต่อย เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสมุนไพรดีปลีอีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการจัดอบรมดังกล่าวมีกลุ่มอาชีพและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 20 คน โดยส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ทั้งนี้กลุ่มอาชีพหรือประชาชนที่ต้องการปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลด้านคลินิคเทคโนโลยี สามารถสอบถามได้ที่คลินิคเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง โทรศัพท์ 054-342547-8 ต่อ 112  ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีกล่าวในตอนท้าย ข่าว : จารุวรรณ  สุยะ ที่มาของข่าว/ภาพ :สุนิสา ติ๊บคำ เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ลำปาง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา