โลโก้เว็บไซต์ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ  ISHPMNB 2018 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ISHPMNB 2018

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 15 พฤษภาคม 2561 โดย อาพัชรี ศิรินาโพธิ์ จำนวนผู้เข้าชม 694 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ล้านนา ส่งทีมนักวิจัยร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จากความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยอิวาเตะ ( 岩手大学) มทร.ล้านนา และ มทร.ธัญบุรี โดยนักวิจัยจากมทร.ล้านนาขึ้นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยเด่นๆ ด้านพลาสมาแรงดันสูงและไมโครนาโนบับเบิ้ลทั้งหมด 11ผลงาน ได้รับการตอบรับจากโปรเฟสเซอร์และนักวิจัยจากนานาประเทศเป็นอย่างดี ทำให้ชื่อ Rajamangala University of Technology Lanna, RMUTL เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นำโดย Prof. Kiyoshi Yoshikawa อดีตรองอธิการด้านวิจัย ม.เกียวโต ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านงานวิจัยให้กับอธิการบดี มทร.ล้านนา ผศ.ดร.วิษณุ. ทองเล็ก หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการพลาสมาแรงสูงและไมโครนาโนบับเบิ้ลด้านการเกษตรและการประมงขั้นสูง ทำให้เวทีสากลได้รู้จักและยอมรับว่ามทร.ล้านนามีความเชี่ยวชาญด้านการประยุกต์ใช้พลาสมาแรงสูงและไมโครนาโนบับเบิ้ลด้านการเกษตรและการประมงขั้นสูงในระดับต้นๆ ของประเทศไทย มทร.ล้านนา สามารถผลิตเครื่องกำเนิดไมโครนาโนบับเบิ้ลที่ได้มาตรฐาน (โดยมทร.ล้านนามีเครื่องวัดขนาดอนุภาค ความหนาแน่น ปริมาณฟองก๊าซ ราคากว่า 3 ล้านบาท ที่ใช้สอบเทียบมาตรฐานเครื่องกำเนิดนาโนบับเบิ้ลได้) โดยสามารถผลิตได้ในราคาต่ำกว่าเครื่องจากญี่ปุ่นถึง 10 เท่าตัว จาก 200,000 บาทเหลือประมาณ 30,000 บาท ทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ในครั้งนี้เกิดความร่วมมือด้านงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2015 มีผลงานวิจัยหลายงานที่มีการเผยแพร่และถ่ายทอดสู่อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น การประยุกต์ใช้น้ำ O3MNB ในการรักษาความสดของอาหารทะเลร่วมกับบริษัทส่งออกกุ้งที่จ.ชุมพร ทดแทนแทนการใช้สารเคมีที่ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การรักษาความสดของน้ำกะทิ จาก 3 วันเป็น 10 วัน โดยไม่ต้องเติมสารเคมีแต่อย่างใด ร่วมกับผู้ประกอบการในจ.เชียงใหม่ การล้างกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกร่วมกับบริษัทส่งออกกล้วยหอมทองในอ.แม่สอด จ.ตาก น้ำ O3 MNB สามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ทำให้กล้วยไม่เกิดโรคขั้วเน่า ยังคงสภาพความสดและมีอายุการสุกที่พอดีเมื่อส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นด้วยระยะเวลาการขนส่งนานกว่า 30 วัน. การล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้สด การดูแลรักษาปลาสด การเพาะเลี้ยงปลานิลของกลุ่มเกษตรกรณ์อ.พาน จ.เชียงราย ปลาสวยงาม. และการขนส่งปลาด้วยน้ำที่มีปริมาณ O2 สูง เป็นต้น การประยุกต์ใช้พลาสมาแรงสูงนำโดย ผศ.ชาญชัย เดชธรรมรงค์ ในการกระตุ้นการงอกและการเจริญเติบโตของเมล็ดพืช ต้นพืช เมล่อน มะเขือเทศ คะน้าจีน เห็ดห่า ชิตาเกะ การถนอมอาหาร การหมักแหนม เป็นต้น ตลอดจนการใช้ทั้ง 2 เทคนิคร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลมากขึ้นจากผลงานที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชื่อของมทร.ล้านนาเป็นที่รู้จักในวงการพลาสมาแรงสูงและไมโครนาโนบับเบิ้ล เกิดเครือข่ายงานวิจัยในระดับดีมากทั้งระดับในประเทศและต่างประเทศ

ขอขอบคุณมทร.ล้านนา สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการพลาสมาแรงสูงและไมโครนาโนบับเบิ้ลเพื่อการเกษตรและประมงขั้นสูงคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ฝ่ายสนับสนุนและผู้บริหารทุกท่านที่ให้โอกาสนักวิจัยมทร.ล้านนาได้มาเพิ่มพูนประสบการณ์ พัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายงานวิจัยระดับนานาชาติในครั้งนี้

ภาพ/ข่าว Chinanat Witthayaprapakorn







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา