โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก  คว้ารางวัล “ค่ายดีเยี่ยม”  ในโครงการ กฟผ.เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม รุ่นที่ 10   | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา พิษณุโลก คว้ารางวัล “ค่ายดีเยี่ยม” ในโครงการ กฟผ.เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม รุ่นที่ 10

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 26 พฤศจิกายน 2561 โดย นางปภาดา พลอยอิ่ม จำนวนผู้เข้าชม 1619 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

โครงการ “เสริมสร้างพลังชุมชนด้วยศาสตร์พระราชา”  โดย อาจารย์วิทยา  พรหมพฤกษ์  หัวหน้าหลักสูตรเครื่องจักรกลเกษตร เป็นหัวหน้าโครงการ  พร้อมด้วย นักศึกษาหลักสูตรเครื่องจักรกลเกษตร  และ หลักสูตรพืชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 หรือ “ค่ายดีเยี่ยม”  ในการนำเสนอโครงการดังกล่าว  ภายในงาน  กฟผ.เพาะเมล็ดพันธุ์จิตอาสาพัฒนาสังคม รุ่นที่ 10  ณ  เมื่อวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน  2561  ณ โรงไฟฟ้าบางประกง  จ.ฉะเชิงเทรา  โดยการส่งผลงานเข้านำเสนอเป็นครั้งแรก

          ด้วย อาจารย์วิทยา  พรหมพฤกษ์  หัวหน้าหลักสูตรเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร  และหลักสูตรพืชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  ประกอบด้วย   นางสาวนภัสรา เรืองจุ้ย  หัวหน้ากลุ่ม    นางสาวอรุณี   นวลคำ  รองหัวหน้ากลุ่ม   นางสาวสมฤทัย  เสือสะอาด  นางสาวสตางค์  ประทิศ   นางสาวณัฐริกา  ป้อมสาหร่าย   นายวัฒนกิจ  บุตรแก้ว    นายชัชชล  ทระพีสิงห์   นายส่างทุน (ชาวไทใหญ่)   นายสุธินันท์  วิจิตร   นายอนุพงศ์  แสงเดือน  ดำเนินงานโครงการ   “เสริมสร้างพลังชุมชนด้วยศาสตร์พระราชา” ณ ชุมชนบ้านไผ่ขอดอน หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กฟผ.  ระหว่างวันที่  15  กันยายน  -  20  ตุลาคม 2561   ซึ่งเป็นโครงการที่น้อมนำความรู้ตามศาสตร์พระราชาลงสู่ระดับครัวเรือนของพี่น้องในชุมชน โดยแนวทางดำเนินงานยึดหลักการ "เข้าใจเข้าถึงและพัฒนา" ให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เกี่ยวกับระบบดิน น้ำ พืชผักต่างๆ และสัตว์เลี้ยง เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ปุ๋ย ใช้ยา หรือการให้อาหารสัตว์ที่เหมาะสม ไม่มากเกินความจำเป็น และใช้สารชีวภาพตามนำแนวทางชีววิถีมาขับเคลื่อน เพื่อเป็นการลดต้นทุน และรักษาสุขภาพของพี่น้องในชุมชน  โดยให้นักศึกษาดำเนินงานรูปแบบกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ ใช้หลักการส่วนร่วม ด้วยการร่วมระดมความคิดหาสาเหตุ วิเคราะห์ปัญหา และแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยนำศาสตร์พระราชาเป็นหลัก ตั้งต้นและแตกแขนงออกไป เพื่อการพัฒนาด้านการดำรงชีพ พื้นฐานที่มีคุณภาพ สู่การพัฒนาอาชีพและรายได้ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต.

 

ขอบคุณภาพจาก อ.วิทยา  พรหมพฤกษ์   

ข่าว - ปภาดา พลอยอิ่ม






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา