โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 2 เมษายน 2563 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1147 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี โดยมี รศ.ศีลศิริ  สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีฯ เป็นประธานในพิธี เปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนแพ นำกล่าวถวายพระพรชัยมงคล ณ โถงชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี มทร.ล้านนา

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 จวบจนถึงปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนองงานตามโครงการพระราชดำริ สู่การปฏิบัติก่อเกิดโครงการบริการวิชาการต่างๆเพื่อเป็นเวทีในการฝึกฝน เรียนรู้ ต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน สังคมและท้องถิ่น อันได้แก่

  1. ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ณ  ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรเป็นประจำทุกปี
  2. โครงการหลวง ศูนย์ความร่วมมือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเพื่อมูลนิธิโครงการหลวงและกิจกรรมวิชาการ ประกอบด้วยสถานีวิจัยและศูนย์พัฒนาโครงการหลวงจำนวน 38 แห่ง ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยาและลำพูน ใน 20 อำเภอ 275 หมู่บ้าน
  3. โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา จังหวัดน่าน






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา