โลโก้เว็บไซต์ นศ.หลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อยอดองค์ความรู้ลายปักผ้าชาติพันธุ์ดาราอั้ง สู่การออกแบบตัดเย็บชุดดาราอั้งประยุกต์สำหรับสุภาพสตรี | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นศ.หลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อยอดองค์ความรู้ลายปักผ้าชาติพันธุ์ดาราอั้ง สู่การออกแบบตัดเย็บชุดดาราอั้งประยุกต์สำหรับสุภาพสตรี

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 15 กันยายน 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5461 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

     วันที่ 11 – 12 กันยายน 2563 นักศึกษาหลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่บ้านนอแล ต.ม่อนปิน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการออกแบบและตัดเย็บโดยใช้องค์ความรู้ด้านสิ่งทอของชาติพันธุ์ดาราอั้ง จัดแสดงเป็นตัวอย่างให้แก่กลุ่มแม่บ้านและถ่ายแบบชุดผ้าทอพื้นเมืองจากนางแบบชาวดาราอั้ง พร้อมทั้งจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับลายปักผ้าที่นำมาประกอบการตัดเย็บ โดย ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย อาจารย์ประจำหลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ หัวหน้าโครงการฯ และอาจารย์นันท์นภัส ไชยสวัสดิ์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ  เพื่อนำรายละเอียดต่างๆจากการลงพื้นที่ มาประกอบและเรียบเรียงจัดทำเป็นหนังสือบันทึกองค์ความรู้มอบไว้เป็นสมบัติของชุมชนขาติพัน์ดาราอั้ง บ้านนอแล และให้นักศึกษาได้นำไปปรับใช้กับการเรียนด้านการออกแบบต่อไป

      สำหรับกิจกรรมดังกล่าวสืบเนื่องจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาศักยภาพผู้ผลิตงานหัตถกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นที่สูงชาติพันธุ์ดาราอั้ง” ภายใต้โครงการผลักดันผลงานวิชาการสู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการหลวง ของสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มทร.ล้านนา ในวันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มแม่บ้านผู้ผลิตงานหัตถกรรม บ้านนอแลที่เข้าร่วมการอบรม มีความต้องการเกี่ยวกับการออกแบบ ตัดเย็บ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ภายใต้บริบทของท้องถิ่นและบ่งบอกถึงตัวตนของชาติพันธุ์ดาราอั้ง ควบคู่กับความทันสมัยและคนทั่วไปสามารถสวมใส่ได้ จึงได้เกิดแนวคิดและต่อยอดสู่การออกแบบตัดเย็บโดยนักศึกษาดังกล่าว







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา