โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านแม่แพง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านแม่แพง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 22 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 1711 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

       วันที่ 22 กรกกฏาคม 2559  ดร.ชินานาฏ  วิทยาประภากร ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึงคณะกรรมการในการดำเนินโครงการ เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมีนายอรุณ ธนะหมี นายกเทศมนตรีตำบลแม่ปั๋ง ผู้ใหญ่บ้านแม่แพง หัวหน้าส่วนราชการ  เครือข่ายต่าง ๆ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 2 ในงบประมาณ พ.ศ. 2559

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านแม่แพง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากวันศุกร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2555 งานบริการวิชาการ กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และเทศบาลตำบลแม่ปั๋ง นำโดยนายอรุณ ธนะหมี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลแม่ปั๋ง และนายธนาวุฒิ ลี้ตระกูล ผู้อำนวยการกองการศึกษา ได้ลงนามความร่วมมือสร้างเครือข่ายความร่วมมืองานบริการวิชาการกับเทศบาลตำบลแม่ปั๋ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริการวิชาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปแก้ไขปัญหาหรือความต้องการของชุมชน ได้อย่างถูกต้อง ตรงกับความต้องการของประชาชนในชุมชน จึงทำให้เกิดการทำความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากับเทศบาลตำบลแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่  ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาได้มีการประสานงานและวางแผนความร่วมมือด้านงานวิจัยและด้านบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำความรู้จากงานวิจัยของนักวิจัย มทร.ล้านนา สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม  ตลอดจนเป็นการบริการด้านวิชาการและงานวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนเทศบาลแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่อย่างยั่งยืน 

ผลการทำงานในโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ฯ ในปี 2558 ที่ผ่านมา  ซึ่งเป็นปีที่หนึ่ง  พบว่าได้รับความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี  มีการบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละโครงการย่อยตามที่ได้วางเป้าหมายไว้  เช่น  เกิดแหล่งเรียนรู้สมุนไพรขึ้น   มีสวนสมุนไพรที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งขยายพันธุ์สมุนไพรในชุมชนและนอกชุมชนต่อไป  มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นของชุนชนขึ้น  เช่น น้ำมันเขียวเสลดพังพอน  เป็นต้น  มีการให้ความรู้และจัดทำบัญชีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านแม่แพงอย่างเป็นระบบ   ตลอดจนชาวบ้านในบ้านแม่แพงตระหนักถึงปัญหาขยะในชุมชน และร่วมวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน  ทั้งนี้ชุมชนมีความพึงพอใจที่ได้ร่วมโครงการและมีความยินดีที่มีโครงการนี้เกิดขึ้น และเพื่อความสัมฤทธิ์ผลที่ดีและเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง  ทางคณะทำงานจึงจัดทำเวที มทร.ล้านนา-ผู้บริหารชุมชน-ชาวบ้านในชุมชน ขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 เพื่อมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  รับฟังข้อเสนอจากผลการทำงานในปี 2558 นำสู่การวางแผนการทำงานในปี 2559 และ 2560 ต่อไป  

จากผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ตั้งแตปี 2555 จนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าทางชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและหน่วยงานสนับสนุน เช่น เทศบาล โรงเรียน มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สามัคคี ตั้งใจ และความร่วมมือในการลงพื้นที่ของทีมอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา มทร.ล้านนา ด้วยดีเสมอมา  นอกจากนี้ทางมทร.ล้านนาและชุมชนได้มีการจัดเวทีเสวนาในวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ถึงผลงานที่ผ่านมา ข้อเสนอแนะ ปัญหาและแนวทางการทำงานร่วมกันต่อไป จนได้หัวข้อที่ชุมชนต้องการให้ทีม มทร.ล้านนาเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ไขและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหลายประเด็น จนนำไปสู่การพัฒนาเป็นกิจกรรมสำหรับโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม ในปีงบประมาณ 2558 ที่ผ่านมาและปี 2559 -2560 ต่อไป

กิจกรรมที่ดำเนินงานแล้ว ประกอบด้วย

1. ลงพื้นที่เพื่อประชุมสรุปโครงการปี 2558 และชี้แจงโครงการปี 2559

2. ลงพื้นที่เพื่อประสานงาน เตรียมความพร้อมและเก็บข้อมูล 1 ครั้ง

3. ให้ความรู้และบริการวิชาการแก่ชุมชน เรื่อง การทำไข่เค็มสมุนไพรและน้ำสมุนไพร

4. ลงพื้นที่จัดทำแผนที่ชุมชนและข้อมูลสถานที่ กิจกรรมสำคัญในชุมชน

5. จัดประชุมสรุปและติดตามงานร่วมกับชุมชน

6. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องอาหารสุขภาพ : อร่อยด้วยสมุนไพร

7. ลงพื้นที่เก็บข้อมูล เพื่อประเมินศักยภาพการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

8. จัดอบรมให้ความรู้และบริการวิชาการแก่ชุมชน เรื่องดอกไม้ประดิษฐ์และตุงไส้หมู

9. จัดอบรมการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์

10. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน

11. ให้ความรู้และบริการวิชาการแก่ชุมชน เรื่อง การประดิษฐ์โบว์ผูกผมและที่คาดผม

12. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน เพื่อจัดทำวีดีโอ ฮักแม่แพง

13. ให้ความรู้และบริการวิชาการแก่ชุมชน เรื่อง สอนลูกหลานสืบสานภูมิปัญญาและแนะแนวการศึกษาต่อ

14. จัดอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยมีสมุนไพรเป็นส่วนผสม

15. ลงพื้นที่ให้ความรู้และจัดแหล่งเรียนรู้สมุนไพร

16. พัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเขียวไพลเสลดพังพอนและออกแบบบรรจุภัณฑ์

17. การจัดการขยะอินทรีย์จากแปลงเกษตรกรรมของชุมชน

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน : เกิดความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อ – จัดจ้าง การเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการ ทำให้ผู้รับชอบโครงการ ต้องสำรองจ่ายงบประมาณดำเนินงาน จึงเกิดผลกระทบต่อแผนการดำเนินงาน

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา