โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับ Talent Mobility สร้างกำลังคนขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา เปิดเวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับ Talent Mobility สร้างกำลังคนขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 21 ตุลาคม 2563 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4121 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

           ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการดำเนินการ โครงการ Talent Mobility โดย มทร.ล้านนา ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สอวช.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดกิจกรรมขึ้นใน 3 จังหวัด คือ มทร.ล้านนา เชียงราย ตากและเชียงใหม่ เพื่อนำศักยภาพของบุคลากร วทน.จากภาครัฐมาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคเอกชนอย่างเป็นรูปธรรมให้สามารถแข่งขันได้ในสากลและขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืนและทั่วถึงตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและเป้าหมายประเทศไทย 4.0  โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม พ.ศ.2563 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มทร.ล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

            กิจกรรมภายในงานมีการบรรยายพิเศษจาก ดร.ธิดารัตน์ โกมลวานิชผู้เชี่ยวชาญนโยบาย กลุ่มยุทธศาสตร์กำลังคนในระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช) นายศิรัสก์ ศิริสวัสดิ์ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ สป.อว คุณวีระยุทธ สุขวัฑฒโก ประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมเชียงใหม่และภาคเหนือ รวมถึงการเสวนา ในหัวข้อ “RMUTL- Chiang Mai-Lam Pang /Talent Mobility/ITAP/สวพ./WiL จะเดินหน้าอย่างไร โดยตัวแทนจากหน่วยงานภายใน มทร.ล้านนา อีกทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการขอตำแหน่งทางวิชาการและการขอจดสิทธิบัตรจากผลงาน Talent Mobility และ iTAP  การฝึกเขียนเอกสารเชิงหลักการเพื่อพิชิตทุนวิจัยร่วมภาคอุตสาหกรรม

           มทร.ล้านนา ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน หรือ Talent Mobility โดยความร่วมมือของ สอวช.และสป.อว. รวมถึงหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมรุ่นใหม่เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในภาคเอกชน (Talent Academy)” โครงการนี้เป็นแนวคิดที่เกิดจาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สนับสนุนให้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ดำเนินการนำร่อง โครงการ Talent Academy โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการออกปฏิบัติงานร่วมกับสถานประกอบการ เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้จากนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานสู่บุคลากรวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีความรู้แต่ยังขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานร่วมกับอุตสาหกรรม และสร้างชุดองค์ความรู้การออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ (ถอดบทเรียน) ทำสื่อที่จะนำร่องส่งถ่ายประสบการณ์สู่นักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมนำร่องนั้นจะทำการคัดเลือกจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะของความต้องการการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่ใกล้เคียงกัน และมีความต้องการจำนวนนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญสูง จัดเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มวัสดุ (เน้นพลาสติกและพอลิเมอร์), กลุ่มสิ่งแวดล้อม, และกลุ่มชีววิทยาและสมุนไพร

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา