โลโก้เว็บไซต์ คณาจารย์ มทร.ล้านนา ต้อนรับ ''ภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจฯ AgTechAI 2022 '' | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คณาจารย์ มทร.ล้านนา ต้อนรับ ''ภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจฯ AgTechAI 2022 ''

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 6 กันยายน 2565 โดย ณัฏฐ์พัฒน์ คนมีฉลาด จำนวนผู้เข้าชม 1170 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   ระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา คณาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานในโครงการที่ปรึกษาเพื่อจัดกิจกรรมบ่มเพาะการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AgTechAI 2022 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ลือโขง ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้ให้การต้อนรับเครือข่ายความร่วมมือ เริ่มที่ คุณสิรพัฒน์ ชนะกุล ผู้จัดการโครงการจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. และดร.มนฤทัย ระดีรมย์ ที่ปรึกษาโครงการฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยเทพ วงศ์สุวรรณ ตัวแทนทีมเครือข่ายภาคกลางจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดร. ปัญญา หันตุลา ตัวแทนทีมเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริศ หนูหอม ที่ปรึกษาจากสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ลงพื้นที่เยี่ยมชม เครือข่ายความร่วมมือ ภูมิภาคเหนือ โดยมทร.ล้านนา เพื่อร่วมประชุมติดตามการดำเนินโครงการ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับแผนกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ นอกจากนี้ยังมี ทีมที่เข้าร่วมโครงการ ชื่อทีม DOA มานำเสนอ Halfway เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ร่วมเดินทางมาในครั้งนี้ได้แนะนำ โปรเจคที่บ่มเพาะในโครงการ
   สืบเนื่องมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับคำเชิญเข้าร่วม “โครงการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AgTech AI Consortium)” โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้นักศึกษา นักวิจัย และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเตรียมพร้อมเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์พัฒนาต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมแก้ปัญหาภาคการเกษตรของประเทศ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามอบหมายให้สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินการจัด “โครงการที่ปรึกษาเพื่อจัดกิจกรรมบ่มเพาะการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในพื้นที่ภาคเหนือ” เพื่อบ่มเพาะทีมนักวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนภาคเหนือ โดยจัดกิจกรรมบ่มเพาะความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการเกษตร ในรูปแบบออนไลน์ เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งรายละเอียดกิจกรรมเป็นไปตามกำหนดการดังต่อไปนี้
   วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565   สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นำทีมโดย คุณสิรพัฒน์ ชนะกุล ดร.มนฤทัย ระดีรมย์ ที่ปรึกษาโครงการฯ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยเทพ วงศ์สุวรรณ ประชุมหารือร่วมกับตัวแทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเครือข่ายใหม่ที่เข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือ AgTech AI Consortium นำทีมโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุนทร วิทยาคุณ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุตุ้ย และรองศาสตราจารย์ ดร.ชิติ ศรีตนทิพย์ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง
   จากนั้น วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ยาวุฑฒิ นำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการระบบควบคุมอัตโนมัติ ณ อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ (C3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร เมืองใจ นำเยี่ยมชมศูนย์วิจัยพลังงานสะอาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ (ดอยสะเก็ด) ต่อด้วย เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเครือข่ายคอมพิวเตอร์และ IoT ณ อาคารเทคนิคคอม นำชมโดยอาจารย์ภาณุเดช ทิพย์อักษร อาจารย์อนุพงศ์ ไพโรจน์ อาจารย์อรรถพล วิเวก และอาจารย์ปรัชญ์ ปิยะวงศ์วิศาล จากนั้นได้เยี่ยมชมห้องอบรมปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ นำชมโดยอาจารย์ปวียา รักนิ่ม ต่อด้วยการประชุมแลกเปลี่ยนพูดคุยปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ร่วมถึงเปิดโอกาสทีม DOA ซักถามและปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม
   ต่อมาในวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ครั้งที่ 1/2565 จากนั้นเยี่ยมชมสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร ส่วนของฟาร์ม โรงเรือน และห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีการเกษตร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. มาลี ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา