โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงเรียนในโครงการ (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงเรียนในโครงการ (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 28 กันยายน 2565 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 671 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 15-18 กันยายน พ.ศ. 2565 อาจารย์ ดร.รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา อาจารย์สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และนายวรรธพงศ์ เทียนนิมิตร เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปเพื่อสนับสนุนงานโครงการพระราชดำริ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน  ดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการอ่าน พูด เขียน ภาษาไทย ของนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร บนพื้นที่สูงในพื้นที่โครงการพระราชดำริ (MOVE) ภายใต้การดำเนินโครงการสืบสานต่อยอดและติดตามเพื่อขับเคลื่อนงานโครงการตามพระราชดำริสำหรับคนทุกช่วงวัย เดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมโรงเรียนในโครงการ (Mobility of Volunteer educations : MOVE) พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมร่วมประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารของโรงเรียนในโครงการ ( MOVE) แต่ละแห่ง ประเด็นเรื่อง การเรียนการสอนภาษาไทย การพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมของนักเรียนที่มุ่งสู่การเรียนการสอนฐานอาชีพ รวมกับพบครูและนักเรียนฯ เพื่อประเมินความสามารถในการใช้ภาษาไทย

 

โดยมีกำหนดการดำเนินงานขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนา พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีดังนี้

  • วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2565 โรงเรียนกอมูเดอ และโรงเรียนบ้านซิวาเดอ ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย
    คณะทำงานฯ เข้าพื้นที่ไปโรงเรียน ร่วมประชุมหารือกับผู้อำนวยการโรงเรียนและคณะครู เกี่ยวกับปัญหาการสื่อสารภาษาไทย และการใช้สื่อการสอนภาษาไทย พร้อมประเมินศักยภาพการใช้ภาษาไทยเด็กนักเรียน
     
  • วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2565 โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย
    คณะทำงานฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมีอาจารย์ ดร.รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา อาจารย์สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และนางสาวปัทมา ไทยอู่ ผู้ช่วยนักวิจัย เป็นวิทยากรฝึกอบรม หลักสูตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอาหาร ได้แก่ คุกกี้ และกิมจิ แก่กลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการผลิตอาหารและฝึกอบรมเป็นฐานในการพัฒนา พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย
     
  • วันที่ 17 - 18 กันยายน พ.ศ.2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง
    คณะทำงานฯ ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์ผล และนำผลการประเมิน RT RTC และRT2 ไปใช้แก้ปัญหาภาษาไทยรายบุคคล เพื่อนำผลการประเมินไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับห้องเรียนรายโรงเรียน และรายบุคคล พร้อมกิจกรรมปฏิบัติการผลิตสื่อทำมือ การเขียนบันทึก พื่อกระตุ้นความสนใจของเด็กเยาวชนตามแนวพหุปัญญา

 

ภาพ/เรียบเรียง วรรธพงศ์ เทียนนิมิตร

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา