โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา น่าน และ สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา จัดประชุมเพื่อชี้แจงกรอบการสนับสนุนงบประมาณงานวิจัยพื้นฐาน FF69 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา น่าน และ สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา จัดประชุมเพื่อชี้แจงกรอบการสนับสนุนงบประมาณงานวิจัยพื้นฐาน FF69

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 4 เมษายน 2567 โดย สกนธ์ เรืองฉาย จำนวนผู้เข้าชม 239 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. มทร.ล้านนา น่าน และ สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา ได้จัดประชุมเพื่อชี้แจงกรอบการสนับสนุนงบประมาณงานวิจัยพื้นฐาน FF69 โดย ผศ.ดร.วิโรจน์ มงคลเทพ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร น่าน เป็นประธานการประชุม เพื่อชี้แจงกรอบการสนับสนุนงบประมาณงานวิจัยพื้นฐาน FF69  แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยระดับพื้นที่เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ จังหวัดน่าน ที่มี "พลิกโฉมการพัฒนา เดินหน้าสร้างเมืองน่านเมืองแห่งความสุข ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดี สังคมร่มเย็น เศรษฐกิจได้รับการต่อยอดและสร้างมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ และเติบโตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาจังหวัด และตอบยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่มี “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งล้านนา” เป็นปรัชญาในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย  มีคณาจารย์นักวิจัยและบุคลากรเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชมพูภูคา อาคารกองบริหารทรัพยากรน่าน มทร.ล้านนา น่าน

     โดย ผศ.ดร.วิโรจน์ มงคลเทพ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร ได้กำหนดวิสัยทัศน์สำคัญ คือ “ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล น่าน จัดการศึกษาและพัฒนากำลังคนด้านปฏิบัติการ ให้มีความชำนาญในวิชาชีพและเทคโนโลยี มีคุณภาพมาตรฐานสากล ภายใต้การบริหารจัดการที่เป็นอิสระ สร้างคุณค่าให้กับสังคม” มีกระบวนการสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการทางวิชาการ วิชาชีพและเทคโนโลยีแก่ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมที่ดี จัดกิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมที่ดี

     การจัดประชุมดังกล่าว นอกจากจะเป็นการนำเสนอกรอบแผนงานวิจัย ประเภททุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) 2569 แล้ว ยังเป็นการกำหนดประเด็นเพื่อการพัฒนาข้อเสนอโครงการภายใต้กรอบวิจัยการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ หรือการพัฒนาตามแนวทางศาสตร์พระราชา

     ในที่ประชุมได้มีการนำเสนอแนวทางและความคืบหน้าของการพัฒนาผู้ประกอบการและการขยายผลผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย สนับสนุนการพัฒนากำลังคนให้สร้างมูลค่าเพิ่มจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ เตรียมความพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น โดยศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ (University Business Incubator : UBI ) 

     มีการรายงานความก้าวหน้าของการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน รุ่นใหม่ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (New Academic Staff : NAS) ผ่านกระบวนการ Grooming

     การติดตามหนุนเสริม โดยกระบวนการการลงพื้นที่เพื่อติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานของอาจารย์นักวิจัยในพื้นที่ของนักวิจัย

ข่าว : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา