โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ดึงภาคเอกชนร่วม MOU สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยานไร้คนขับแบบครบวงจรแห่งแรกของภาคเหนือ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ดึงภาคเอกชนร่วม MOU สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยานไร้คนขับแบบครบวงจรแห่งแรกของภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 29 เมษายน 2567 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1823 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   วันที่ 29 เมษายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)” พร้อมด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนเดินทางเข้าร่วมลงนามประกอบด้วย นายสมิทร เหลี่ยมมณี ผู้อำนวยการโครงการ บริษัทเนทซีโรคาร์บอน จำกัด รองศาสตราจารย์ ดร.อรปรภา ชุติกรทวีศิน อุปนายกสมาคมเกษตรปลอดภัย และนางสาววิภารัตน์ ทองบุญเมือง ประธานกรรมการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท อีซี่(2018) จำกัด โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนนโยบาย และยุทธศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด แสงจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดี อาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ อยู่สวัสดิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยโท ดร.ณัฐรัตน์ ปาณานนท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม พร้อมด้วยครูบาศรีหมอกฟ้า งำเมือง นางระย้า อิสริยศวดี ที่ปรึกษา ร่วมในพิธีดังกล่าว ณ  ห้องประชุมกาสะลอง อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการผลิตนักบินโดรนมืออาชีพภายใต้หลักสูตรวิศวกรรมอากาศยานไร้คนขับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่มุ่งผลิตนักบินที่มีความรู้ความสามารถตามหลักสากลอย่างมืออาชีพ การซ่อมบำรุงโดรน การวางแผนการบินและวิเคราะห์ภาพถ่ายจากโดรนในงานเชิงวิศวกรรม การควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร และการบินเพื่อสนับสนุนภารกิจอนุรักษ์ทรัพยากรธรรชาติและแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่า ตลอดจนสามารถพัฒนาสู่การเป็นผู้ฝึกสอนการบินโดรน ซึ่งจะมีการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2568 ควบคู่กับการเปิดเป็นศูนย์ฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านเทคโนโลยีโดรนอีกด้วย









ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา