โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านอยู่ดี มทร.ล้านนา ตาก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านอยู่ดี มทร.ล้านนา ตาก

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 8 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 1719 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

    วันที่ 8 กรกกฏาคม 2559  อาจารย์สุวรรณีย์  ขยันการนาวี  สาขาอุตหกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร อาจารย์ปิยะพร  เสมาทอง สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เจ้าหน้าที่งานวิจัยและบริการวิชาการ กองการศึกษา มทร.ล้านนา ตาก ผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล และรศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมีนายสมจิตร ขวัญใจผู้ใหญ่บ้านอยู่ดี เครือข่ายต่าง ๆ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ 

     มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก  กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม หมู่บ้านอยู่ดี  ตำบลวังจันทร์  อำเภอสามเงา  จังหวัดตาก  โดยได้นำองค์ความรู้จากการวิจัยและความเชี่ยวชาญจากคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ทั้ง 4 คณะ ประกอบไปด้วย  คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  คณะวิศวกรรมศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร   คณะศิลปกรรมศาสตร์และออกแบบเครื่องเรือน  มาบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา  ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนหมู่บ้านอยู่ดีให้มีคุณภาพชีวิตดีที่ขึ้น  ตามเกณฑ์ดัชนีชี้วัดคุณภาพชีวิต ผลการดำเนินงาน 2 ปีที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านตากได้ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปถ่านแบบครบวงจร ซึ่งสรุปได้ดังนี้

โครงการ ปีที่ 1 ส่วนใหญ่ เป็นโครงการที่เน้นการลดรายจ่ายของชุมชน และเป็นการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า ซึ่งประกอบด้วย

1. กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งเพื่อสร้างอาชีพเพิ่มรายได้แก่ชุมชน

2. อบรมการประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์จากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น

3. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการนวดแผนไทย

4. การอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำบัญชีครัวเรือน การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ

โครงการ ปีที่ 2 เป็นการพัฒนาให้เกิดการเพิ่มรายได้ ด้วยการนำกระบวนการถ่านที่ดำเนินการในปีที่ 1 มาแปรรูปอย่างครบวงจร  ซึ่งประกอบด้วย

1. การผลิตเตาเศรษฐกิจ

2. การผลิตสบู่จากผงถ่าน

3. การนำเศษผงถ่านมาอัดขึ้นรูปเป็นถ่านดูดกลิ่น

4. มีการบริหารจัดการครุภัณฑ์ในท้องถิ่น

     และจากการสรุปผลการดำเนินโครงการ 2 ปีที่ผ่านมา ระหว่างคณะกรรมการผู้ดำเนินโครงการ กับผู้ใหญ่บ้าน ประธานกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินกิจกรรม จึงเป็นที่มาของการดำเนินกิจกรรมในปีที่ 3 โดยเน้นด้านการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความยั่งยืนของกลุ่ม ผลักดันผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้เข้าสู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง ถ่านดูดกลิ่น สบู่จากผงถ่านผสมสมุนไพร โดยประสานความร่วมมือกับพัฒนาชุมชนจังหวัดตาก และช่วยขยายช่องทางการจำหน่ายด้านอื่นๆ นอกจากนี้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมความเข้าใจด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ถ่าน เพื่อสร้างแนวความคิดในการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้เป็นรูปแบบมาตรฐานสากล

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ประกอบด้วย

1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดสบู่สมุนไพรจากผงถ่านพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน

2. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมความเข้าใจด้านการตลาดผลิตภัณฑ์ถ่าน

กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่ 

1. พัฒนาการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์จากถ่าน

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านดูดกลิ่นรูปแบบใหม่

3. โครงการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากถ่านชุมชนบ้านอยู่ดี

4. โครงการผลิตเตาอั้งโล่เพื่อใช้ในครัวเรือน

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา