โลโก้เว็บไซต์ นักวิจัย ราชมงคลล้านนา ขับเคลื่อนโครงการวิจัย “ต้นแบบชุมชนอัจฉริยะพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า” | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นักวิจัย ราชมงคลล้านนา ขับเคลื่อนโครงการวิจัย “ต้นแบบชุมชนอัจฉริยะพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า”

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 10 สิงหาคม 2563 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1323 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 2-3 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะผู้วิจัย ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ จาก 3 คณะ คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ร่วมจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบชุมชนอัจฉริยะบนฐานทุนทางสังคม พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา - คอกม้า” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสมชิด กันธะยา สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) อำเภอแม่ริม เขต 2 ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ ร่วมกับ นายวัน ม่วงมา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง , สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง , ผู้นำชุมชน , กลุ่มผู้ประกอบการ , ผู้สูงอายุ , สภาเด็กและเยาวชน ตำบลโป่งแยง และ คณะผู้วิจัย

          สำหรับกิจกรรมของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วย

          - การบรรยาย ในหัวข้อ “คุณค่า และ ความสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า ต่อชุมชน” วิทยากรโดย คุณวิมลมาศ นุ้ยภักดี นักวิชาการป่าไม้ ชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า

          - การอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การพัฒนาต้นแบบชุมชนอัจฉริยะบนฐานทุนทางสังคม ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า” วิทยากรโดย อาจารย์ยุรธร จีนา อาจารย์กลุ่มวิชาสังคมและมนุษยศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

          - การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ระดมความคิด วิเคราะห์ทุนทางสังคมในพื้นที่ และการพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดทุนทางสังคม เพื่อการพัฒนาต้นแบบของชุมชนในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า โดยวิทยากรเกื้อหนุน (Facilitator) ประจำโครงการย่อย ดังนี้  ผู้นำอัจฉริยะ อาจารย์ ดร.นพดล มณีเฑียร (ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ) ผู้ประกอบการท้องถิ่นอัจฉริยะ อาจารย์ ดร.สุรีวรรณ ราชสม (รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน) ผู้สูงอายุอัจฉริยะ อาจารย์ ดร.สุภรพรรณ คนเฉียบ (หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์)  เยาวชนอัจฉริยะ อาจารย์มิ่งขวัญ กันจินะ (แผนกวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร)

          ซึ่งโครงการวิจัย เรื่อง การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เพื่อพัฒนาต้นแบบชุมชนอัจฉริยะบนฐานทุนทางสังคมในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา – คอกม้า มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาชุมชนอัจฉริยะบนฐานทุนทางสังคมและสร้างพื้นที่ทำงานร่วมของชุมชนโดยรอบพื้นที่สงวนชีวมณฑล แม่สา - คอกม้า ผ่านการบูรณาการการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน

  สำหรับการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในครั้งนี้ เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน โครงการวิจัยย่อยต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การสร้างพื้นที่ทำงานร่วม (Co-working Space) ในบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า และเป็นต้นแบบการพัฒนาสำหรับพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งอื่น ๆ เกิดการพัฒนาชุมชนอัจฉริยะบนฐานต้นทุนทางสังคมในพื้นที่สงวนชีวมณฑล นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สามารถนำไปประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาพื้นที่สงวนชีวมณฑล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา รวมถึงการศึกษาและการวิจัยที่มีผลกระทบกว้างขวางมากขึ้น มีดังนี้

          1. การพัฒนาต้นแบบผู้นำชุมชนอัจฉริยะ ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า  โดยนักวิจัย อาจารย์กฤติกา อินตา (กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร) อาจารย์อาภาศรี เทวตา (หลักสูตรการจัดการ) คุณสุริยาพร สุตาคำ (คณะบริหารธุรกิจฯ) และ คุณปฏิคม คมชัย (หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง)

          2. การพัฒนาต้นแบบผู้ประกอบการท้องถิ่นอัจฉริยะโดยรอบพื้นที่สงวน
ชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า โดยนักวิจัย อาจารย์อนาวิน สุวรรณะ (หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ) อาจารย์ทศพร ไชยประคอง (หลักสูตรการบัญชี) อาจารย์ช่อทิพย นิมิตรกุล (หลักสูตรเตรียมบริหารธุรกิจ) คุณกมล เกียรติพงษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) คุณกฤษณ อร่ามศรี (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่)  คุณสุรินทร์ เขื่อนขัน (นักพัฒนาการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง) และ คุณธีรพันธ์ แสงตัน (องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง)

          3. การพัฒนาต้นแบบผู้สูงอายุอัจฉริยะในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า  โดยนักวิจัย อาจารย์

ลมัย ผัสดี (กลุ่มวิชาสังคมและมนุษยศาสตร์)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นทีชัย ผัสดี (รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน) อาจารย์ ดร.ตะวัน วาทกิจ (รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา) และ คุณทินกร สุวรรณภูมิ (นักพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง)

          4. การพัฒนาต้นแบบเยาวชนอัจฉริยะในพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า  โดยนักวิจัย อาจารย์สิทธิศักดิ์ ยี่ยวน (หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์) อาจารย์จิรัฐิติกาล มานะจรรยาพงศ์ (หลักสูตรการท่องเที่ยวและการบริการ) และ คุณพนัชกร สมแก้ว (นักสันทนาการ องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง)

 

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา