โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมนาปันสุข เกี่ยวข้าวเพื่อแผ่นดิน สืบสานศาสตร์ สร้างสัมพันธ์ “บ้าน วัด โรงเรียน (มหาวิทยาลัย)” ส่งต่อความสุขเพื่อสังคม จากวันแม่ สู่วันพ่อ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด) | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมนาปันสุข เกี่ยวข้าวเพื่อแผ่นดิน สืบสานศาสตร์ สร้างสัมพันธ์ “บ้าน วัด โรงเรียน (มหาวิทยาลัย)” ส่งต่อความสุขเพื่อสังคม จากวันแม่ สู่วันพ่อ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด)

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 1 ธันวาคม 2565 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 765 คน

(2) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(ดอยสะเก็ด) ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ วงษ์พานิช รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นประธานเปิดกิจกรรมนาปันสุข เกี่ยวข้าวเพื่อแผ่นดิน สืบสานศาสตร์ สร้างสัมพันธ์ “บ้าน วัด โรงเรียน (มหาวิทยาลัย)” ส่งต่อความสุขเพื่อสังคม จากวันแม่ สู่วันพ่อ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร เมืองใจ ผู้ช่วยอธิการบดี หัวหน้าแผนงานใต้ร่มพระบารมีเป็นผู้กล่าวรายงาน โดยการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการสร้างคุณค่าแห่งการขับเคลื่อนงานใต้ร่มพระบารมี เพื่อสานต่อพระราชปณิธานงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่การสืบสาน รักษา ต่อยอด ของในหลวงรัชกาลที่ 10 ผ่านกิจกรรมแห่งการเทิดไท้ เฉลิมฉลองพระชนมพรรษา 90 พรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมให้ทุกภาคส่วน ได้สืบสานเห็นคุณค่าของการปลูกข้าวไทย ด้วยการเรียนรู้ผ่านองค์ความรู้ด้านวิชาการ ภายใต้ปรัชญาแห่งศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงที่เท่าทันและยั่งยืน รวมถึงรักษาสมดุลแห่งเอกลักษณ์ท้องถิ่น ด้วยการใช้พันธุ์ข้าวที่ดี ผ่านกรรมชีววิถีแห่งการทำนาด้วยการปฏิบัติจริง ให้ได้ซึ่งผลผลิตแห่งคุณค่า และส่งมอบให้แก่เด็กยากจน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เกษตรกร ชาวบ้าน และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสังคม ประเทศชาติในทุกมิติต่อไป 

     โคก หนอง นา ล้านนาโมเดล ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด) มุ่งเน้นการถ่ายทอดวิถีการผสมผสานของเกษตรทฤษฏีใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติ สามารถปลูกพืชต่าง ๆ ไว้ในพื้นที่และสามารถใช้สอยได้ครอบคลุมทุกปัจจัย โดยการนำศาสตร์พระราชา ถ่ายทอดสู่เยาวชน ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องข้าวแก่ชุมชน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาและลงมือทำจริงได้เกิดความเข้าใจสามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ โดยได้จำแนกพื้นที่การเรียนรู้ออกเป็น 3 พื้นที่ แบ่งเป็น
พื้นที่โคก ได้แก่ พื้นที่เรียนรู้การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว เรียนรู้สรรพคุณพันธุ์พืชสมุนไพร และต้นไผ่
พื้นที่หนอง ได้แก่ พื้นที่เรียนรู้การจัดการน้ำโดยหลักธรรมชาติ คูคลองไส้ไก่กระจายความชุ่มชื้นในพื้นที่ หนองกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในพื้นที่และเลี้ยงปลา
พื้นที่นา ได้แก่ พื้นที่เรียนรู้กระบวนการปลูกข้าวอินทรีย์ โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน  







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา