โลโก้เว็บไซต์ นิทรรศการ “โตยฮอยครู สู่การสร้างสรรค์” | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นิทรรศการ “โตยฮอยครู สู่การสร้างสรรค์”

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 10 มกราคม 2566 โดย อาพัชรี ศิรินาโพธิ์ จำนวนผู้เข้าชม 709 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมงานพิธีเปิดนิทรรศการ “โตยฮอยครู สู่การสร้างสรรค์” โดย รองศาสตราจารย์ลิปิกร มาแก้ว หัวหน้าโครงการโครงการสืบสาน พัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้เดิม สู่องค์ความรู้ใหม่เครื่องรักล้านนา  เขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี ดร.สิริกร  มณีรินทร์  ผู้อำนวยการสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น สำนักบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) และผู้ร่วมในพิธี นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนากร สร้อยสุวรรณ รักษาราชการแทน คณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, คณะผู้บริหาร, ครูภูมิปัญญาล้านนา, แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน พร้อมทั้งมอบรางวัลแก่นักศึกษา ศิษย์เก่าและผู้สนใจร่วมประกวดเครื่องรักล้านนาที่ได้ลงไปศึกษาและฝึกปฏิบัติจากปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะงานเครื่องรัก โดยผู้ที่ไดรับรางวัลมีรายนามดังนี้
    รางวัลอนุรักษ์ “โตยฮอยครู” จำนวน 7 รางวัล
    1.นายพิจักษณ์  บาลี รางวัลยอดเยี่ยม
    2.นายเยี่ยน มีชัย รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1
    3.นส.กมลชนก  แสวงลาภ รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 2
    4.นายมงคล  จันทร์อิ่น รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 3
    5.นายจตุพร รักสัตย์ รางวัลชมเชย
    6.นส.มัลลิกา  ใจกาวิล รางวัลชมเชย
    7.นส.กัญญารัตน์  บริบูรณ์ศิริกุล รางวัลชมเชย

    รางวัลสร้างสรรค์ร่วมสมัย “สู่การสร้างสรรค์”
    1.นายเอกภพ  อุ่นกันทะ รางวัลยอดเยี่ยม
    2.นส.ปุณยาพร  แปงสนิท รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1
    3.นายณัชพล กัณทวงศ์ รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 2
    4.นายปฏิญญา  วงศ์กาแก้ว รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 3
    5.นายวรเมธ  สุวรรณศรี รางวัลชมเชย
    6.นส.กมลชนก แสวงลาภ รางวัลชมเชย
    7.นายมงคล  จันทร์อิ่น รางวัลชมเชย
    “โครงการสืบสาน พัฒนา ต่อยอดองค์ความรู้เดิม สู่องค์ความรู้ใหม่เครื่องรักล้านนา เขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่” ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยจากสถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่น สำนักบริหารวิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) โครงการภายใต้แผนงานช่างศิลป์ท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อการอนุรักษ์   เชิดชูครูภูมิปัญญา ส่งเสริมการสร้างสรรค์งานช่างศิลป์เครื่องรักล้านนา มุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดสร้างคนรุ่นใหม่ ตามรอยครูภูมิปัญญา สู่การอนุรักษ์สืบสานงานเครื่องรักล้านนา อันเป็นมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่ง
    โครงการนี้ได้เล็งเห็นความสำคัญของงานเครื่องรักล้านนา โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาพื้นบ้าน และเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญ อย่างยิ่ง สังคมวัฒนธรรมล้านนาในอดีต งานศิลปะหัตถกรรมเหล่านี้ มักถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองบริบทต่าง ๆ ทางสังคม อาทิ บทบาททางสังคม หน้าที่การใช้สอย ตั้งแต่ชนชั้นปกครอง พระสงฆ์ ผู้มีฐานะ ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบงานพุทธศิลป์ เครื่องใช้สอย ของชนชั้นปกครอง เครื่องใช้ในพิธีกรรม รวมถึงเครื่องใช้ในวิถีชีวิตของคนในสังคม นอกจากหน้าที่ใช้สอยที่สำคัญแล้วงานเครื่องรัก หรือที่รู้จักกันในนามเครื่องเขิน ยังสามารถแสดงถึงภูมิปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะฝีมือทางเชิงช่างโบราณ ตลอดจนสร้างให้เกิดคุณค่าทางความงาม ด้านศิลปะ ถือได้ว่าเป็นงานประณีตศิลป์ล้านนา ที่ควรให้คุณค่า และเร่งดำเนินการรวบรวมข้อมูล จัดเก็บองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการสร้างสรรค์ เทคนิควิธีการ การเลือกใช้วัสดุ ที่เหมาะสม ที่ได้จากผู้รู้ปราชญ์ชาวบ้าน ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะงานเครื่องรัก และนำไป สืบสาน พัฒนาต่อยอด ให้กับงานช่างศิลป์เครื่องรักล้านนาในรุ่นต่อไป เพื่อการอนุรักษ์สืบทอด และส่งเสริมการสร้างสรรค์สู่การพัฒนาต่อยอดในอนาคต และการสร้างคุณค่าของครูภูมิปัญญา เชิดชูเกียรติ ให้สังคมได้รับรู้ และถือเป็นการประชาสัมพันธ์เครือข่ายครูภูมิปัญญางานช่างศิลป์เครื่องรักล้านนาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นที่รับรู้ของคนในสังคมทั้งระดับชุมชน ประเทศชาติ ตลอดจนระดับนานาชาติต่อไป

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา