โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา สร้างความร่วมมือ โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ“การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอาหาร  เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ด้านการอ่าน พูด ภาษาไทย ผ่านการเรียนรู้วิชาชีพ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา สร้างความร่วมมือ โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ“การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอาหาร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ด้านการอ่าน พูด ภาษาไทย ผ่านการเรียนรู้วิชาชีพ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 22 พฤษภาคม 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 526 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรม “การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอาหาร เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ด้านการอ่าน พูด ภาษาไทย ผ่านการเรียนรู้วิชาชีพ” ภายใต้การดำเนินงาน "โครงการสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชดำริ และศาสตร์พระราชา สำหรับคนทุกช่วงวัย” ณ โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 

          ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายชาตรี หยกสินพูนทวี รองผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมฝึกอบรม โดยมีคณาจารย์และบุคลากรจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ให้เกียรติเป็นวิทยากร บรรยายถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ อาจารย์ ดร.รัตนพล พนมวัน ณ อยุธยา อาจารย์สังกัดสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร และนางสาวปัทมา ไทยอู่ ผู้ช่วยนักวิจัย เป็นวิทยากรฝึกอบรม โดยการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีความประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กและ เยาวชนด้านการอ่าน พูด เขียน ภาษาไทย ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ด้านอาชีพการประกอบการด้านอาหารด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หลักสูตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปอาหาร ในรูปแบบอาหารและขนม ได้แก่ ซาลาเปาไส้หมูสับ ,ไส้ครีม และขนมเปี๊ยะกุหลาบ แก่กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โดยถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ส่วนผสม กระบวนการผลิต วิธีการคิดคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณหาต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาขาย เกิดความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเด็กนักเรียนเกิดทักษะในการสื่อสาร ด้านการอ่าน พูด เขียน ภาษาไทย ความสามารถทางด้านอาชีพ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต สามารถพัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ นำไปประกอบอาชีพและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

(ชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1cRSfYKdSFzAptUXAxGNUTccMgwVwHiF2?usp=share_link)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา