โลโก้เว็บไซต์ โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านใหม่นาแขม สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 บ้านใหม่นาแขม สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 5 กรกฎาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 1086 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

    วันที่ 5 กรกกฏาคม 2559  ผศ.อรุณ โสตถิกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร เข้าร่วมโครงการติดตามความก้าวหน้าและสรุปบทเรียน โครงการ ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ได้รับเกียรติผู้ทรงคุณวุฒิจากท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล และรศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล และนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมี ผศ.พงศ์ยุทธ  นวลบุญเรือง ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ      

     สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม หมู่บ้านใหม่นาแขม หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชน สิ่งที่ชุมชนต้อง ร่วมมือกันทำเพื่อให้หมู่บ้านเป็นไปตามที่มุ่งหวัง ชุมชนบ้านใหม่นาแขม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ  การศึกษา ส่งเสริมสุขภาพ ราษฎรในชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมให้สวยงาม และสร้างคุณธรรม  จริยธรรม โดยการรณรงค์ เนื่องในวันสำคัญต่างๆ และวันสำคัญทางศาสนา ได้ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 2 ในงบประมาณ พ.ศ. 2559 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เนื่องจากผู้ชายทำงานประจำที่ไฟฟ้าแม่เมาะ พัฒนาการจากกลุ่ม 3 กลุ่มหลักได้แก่

1.กลุ่มผักไฮโดรโปนิค ได้ GAP แล้ว สมาชิกจากเดิม 10 คน เพิ่มเป็น 15 คน

2.กลุ่มผักปลอดสารพิษ สมาชิกจากเดิม 30 คน เพิ่มเป็น 53 คน กำลังขอ GAP มีปัญหาน้ำท่วมขังจากฤดูฝน จากการดูงานที่ศูนย์จักรพันธุ์เพ็ญศิริ ได้แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การทำแปลงผักยกสูงและแปลงผักลอยฟ้า

3.กลุ่มผักเชียงดา สมาชิกจากเดิม 20 คน เพิ่มเป็น 30 คน และ 90% ของชาวบ้านใหม่นาแขมร้อยกว่าครัวเรือน ปลูกในครัวเรือน จำหน่ายยอดสดในตลาดในชุมชน ทั้งนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด กำลังขอ GAP  

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ประกอบด้วย 

1.ทบทวนภาพรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ผ่านมา และทำการถอดบทเรียนด้านการปลูกผักปลอดสารพิษในส่วนของการดำเนินงานที่ผ่านมาในปีแรกแต่ละเรื่อง

2. จัดเวทีเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ในแต่ละเรื่องของการผลิตผักปลอดสารพิษที่ได้ค้นหา และมีข้อมูลเชิงประจักษ์โดยร่วมกันของชุมชนกับนักวิชาการ ดังต่อไปนี้ โดยเพิ่มเติมองค์ความรู้ที่สูงขึ้นจากปีที่ 1 ในเรื่อง - การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์- การปลูกผักเชียงดาและผักพื้นบ้าน- การปลูกผักปลอดสารพิษด้วยการจัดการระบบการเรียนรู้ - มาตรฐานการจัดการคุณภาพผลผลิตด้านการเกษตรที่ดี (GAP)

3. ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย  

กิจกรรมที่จะดำเนินการหลังจากการติดตามประเมินผลได้แก่

1.จัดเวทีประมวลข้อมูลความรู้ที่ได้ด้านการผลิตทั้งระบบของการผลิต ผักปลอดสารพิษ ให้ได้การผลิตที่มาตรฐาน GAP และทำการถอดบทเรียนการผลิต  ผักปลอดสารพิษ ให้ได้การผลิตที่มาตรฐาน GAP

2.จัดเวทีอบรมเรื่องการขอรับรองมาตรฐาน GAP และขอรับรองมาตรฐาน GAP - การวางแนวทางการสร้างความเข้าใจและกระบวนการจัดการพืชปลูกตามระบบ GAP - การจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างความเข้าใจระบบการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP - แนวทางการขอรับรองมาตรฐาน GAP - ติดตามให้คำปรึกษาและประเมินแปลงเบื้องต้น 

3. การขอรับรองมาตรฐาน GAP -ติดตามให้คำปรึกษาและประเมินแปลงเบื้องต้น - การยื่นขอรับรองระบบ GAP - การคัดเลือกเกษตรกรและพืชสำหรับการขอรับรอง โดยการประเมินแปลงเบื้องต้น (ประมาณ 3 ครั้ง/แปลง) พร้อมทั้งรวบรวมรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการ ประเมินเบื้องต้น - จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรองมาตรฐาน GAP - การติดตามและการตรวจสอบข้อมูลในการขอรับรอง GAP

4. จัดเวทีประมวลข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะจากทรงวุฒิ และนักวิชาการ

5. การจัดนิทรรศการแสดงผลงานและเวทีคืนข้อมูล

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส  ภาพ : นายอำนาจ อุ้ยฟูใจ/นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา