โลโก้เว็บไซต์ พิธีเปิดป้ายศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวง มหาวรรณ์ฯ และเปิดป้ายโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตฯ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

พิธีเปิดป้ายศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวง มหาวรรณ์ฯ และเปิดป้ายโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตฯ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 10 สิงหาคม 2560 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1179 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 รศ.ดร.นำยุทธ  สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผศ.สนิท  พิพิธสมบัติ ผศ.มนูญ  เมฆอรุณกมล รองอธิการบดีฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษา ร่วมพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้เฮียนหลวง มหาวรรณ์ พิฑิธภัณฑ์พื้นบ้าน ภูมิปัญญาบรรพชนและป้ายโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วม ณ ศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวง ต.โหล่องขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

โดยศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวง มหาวรรณ์ พิฑิธภัณฑ์พื้นบ้าน ภูมิปัญญาบรรพชน ในอดีตเป็นบ้านของ พระครูวรรณวิวัฒน์ ดร. (นพบุรี มหาวณฺโณ มหาวรรณ) เจ้าอาวาสวัดบ้านหลวง เจ้าคณะตำบลโหล่งขอดและ ด.ต.วิรัตน์  มหาวรรณ์ ร่วมกันมอบให้กับชุมชนบ้านหลวง เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลัง นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้อารยธรรม ศิลปะ ภูมิปัญญาต่างๆ โดยรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุซึ่งเป็นมรดกสืบทอดจากบรรพบุรุษกว่า 8,000 ชิ้น  โดยมีพิธีเปิดป้ายศูนย์การเรียนรู้ฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 เวลา 09.30 น. พร้อมด้วยนายณรค์พัชญ์  นาคทรัพย์ ปลัดอาวุโสรักษาราชการแทนนายอำเภอพร้าว นายศราวุธ  ไทยเจริญ นายอำเภอแม่แตง, นางสุพรรณ  พงษ์ตา นักวิชาการวัฒธรรมชำนาญการอำเภอพร้าว, น.ส.เกษสุดา ต.เจริญ ผู้อำนายการกลุ่มอำนวยการและกิจการคณะสงฆ์, นายยศวัฒน์  เธียรสวัสดิ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา และตัวแทนในชุมชนร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดและสักขีพยาน

อาจารย์ชัยภูมิ  สีมา หัวหน้าโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม ปีที่ 3 “กรณีบ้านหลวง หมู่ที่ 6 ตำบโหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การบูรณะศูนย์การเรียนรู้เฮือนหลวงมหาวรรณ์ฯ เป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการยกระดับฯ ด้านการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเปิดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านหลวง ต.โหล่งขอด ไปแล้ว  ในครั้งนี้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาทั้ง 3 คณะ (คณะวิศกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์) ร่วมกันบูรณาการการเรียนการสอนออกแบบอาคาร ตลอดจนถึงการจัดเรียงหมวดหมู่ คำอธิบายโบราณวัตถุต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวได้เล่าเรื่องราวในอดีตของชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อประเทศในอนาคตต่อไป

สำหรับผู้สนใจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ สามารถติดต่อ อาจารย์ชัยภูมิ  สีมา ได้ทาง E-mail : chaiyapoum2528@hotmail.com หมายเลขโทรศัพท์ 086-050-8266  

 








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา